วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 16

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการแจกแท็บเล็ตให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1
ว่ามีข้อดี ข้อจำกัด อย่างไร พร้อมบอกประโยชน์ของการใช้แทบเลต




 รายการ "โทรทัศน์ครู" ชุด "แท็บเล็ต" ตอนที่ 3 "ประโยชน์ของ Tablet ในด้านการศึกษา" - มารู้จักประโยชน์ของการใช้ Tablet ในด้านการศึกษากัน ความสามารถมากมาย เมื่อใช้ Tablet แทนตำราเรียน ช่วยบันทึกข้อมูลการเรียน การสอนได้หลายรูปแบบ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือใช้แทนสื่อการเรียนการสอน

ข้อดี ข้อเสีย และทางออก

ข้อดี
  1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ
  2. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
  3. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
  4. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ
  5. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า
ข้อเสีย
อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้
นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า
  1. เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน
    ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง
  2. มีปัญหาเรื่องสายตา
    กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ
  3. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์
ครูและผู้บริหารการศึกษาบางท่านยังมีความเห็นว่า
  1. รัฐบาลควรพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้โรงเรียนทุกแห่งให้ได้เสียก่อน
  2. ยังไม่จำเป็นต้องแจกแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจกลับส่งผลร้าย
  3. การเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตน่าจะเป็นระดับ ป.4 ขึ้นไป ป.1 น่าจะเรียนรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า โดยใช้เพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สำหรับนโยบายของรัฐบาลจัดซื้อแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 กว่า 12 ล้านคนทั่วประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ จะมีความคุ้มค่ากับงบประมาณหรือไม่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

ที่มา: http://ta6let.com/advantage

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


การอ่านนอกจากเป็นอาหารสมองที่ดีแล้วยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจให้แก่ผู้อ่านด้วย ยิ่งผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากเรื่องที่อ่านมากเท่าไร การเรียนรู้ก็ยิ่งพัฒนาขึ้นเท่านั้น การอ่านกับเด็ก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณครูควรปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่ยังเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยอนุบาล  เพราะเด็กในวัยนี้จะซึบซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้ง่ายและรวดเร็ว ยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากคุณครูเป็นประจำและสม่ำเสมอด้วยแล้ว เด็กก็จะเกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่านหนังสือ จนพัฒนาเป็นนิสัยรักการอ่านโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยนี้ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
            1. จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ การจัดมุมหนังสือให้มีแสงสว่างที่พอเหมาะในการอ่าน ชั้นวางหนังสือที่เด็กสามารถหยิบและจัดให้เป็นระเบียบ
            2. สำรวจความต้องการอ่านของเด็ก  เพื่อจัดหนังสือให้ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับวัยของเด็ก
            3. จัดป้ายนิเทศหมุนเวียนเปลี่ยนให้บ่อย ๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดใจและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยากอ่าน
            4. จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การสอนแบบโครงการ
            5. กระตุ้นและสร้างความสนใจให้อยากรู้เรื่องราวในหนังสือด้วยการจัดนิทรรศการ แนะนำหนังสือใหม่ เล่าเรื่องประกอบ อ่านหนังสือให้นักเรียนฟังทุกวัน สนับสนุนให้นักเรียนได้เล่าเรื่องที่อ่านให้เพื่อน ๆ ฟัง หรือให้เด็กยืมหนังสือไปอ่านร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
            6. คุณครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน โดยการอ่านหนังสือให้นักเรียนเห็นและพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องราวของหนังสืออยู่เสมอ คุณครูควรเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตุ้นให้เด็กรักการอ่านด้วยปิยวาจา เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินโดยไม่บังคับ ให้กำลังใจและยกย่องชมเชย เมื่อนักเรียนแสดงความสนใจในการอ่าน
            7. ให้หนังสือเป็นรางวัลในโอกาสต่าง ๆ เช่น เมื่อทำความดี ตอบคำถามถูกต้อง หรือเมื่ออ่านหนังสือได้จำนวนมาก

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15

วันนี้อาจารย์ตรวจความเรียบร้อย Blogger ของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นและให้นักศึกษาที่ยังไม่ส่งงานให้ส่งงานให้เรียบร้อย
   
          อาจารย์แนะนำในการทำงานแต่ละชิ้น ดังนี้  
1.ตั้งวัตถุประสงค์
2.ศึกษาค้าคว้าข้อมูลแหล่งข่าวต่างๆ
3.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
5.ปรับปรุงแก้ไข และตกแต่งให้สวยงาม
 

เทคนิคการออกแบบและจัดทำ Blog ให้น่าสนใจ

  เมื่อผู้ชมเข้ามายัง Blog  สิ่งแรกที่เห็นก็คือหน้าตาของ Blog ซึ่งควรจะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมตั้งแต่แรกพบ   Theme ที่เราเลือกใช้นั้นจะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ของ Blog และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ชมสนใจคลิกดูหน้าอื่นๆ อีกหรือไม่   ฉะนั้นการเลือก Theme ที่สวยงาม และเข้ากับเนื้อหาของ Blog จะช่วยสร้างบรรยากาศที่น่าประทับใจได้ 


ในหน้าแรกควรมีข้อความแนะนำ Blog ของเราว่าเป็น Blog ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร  มีไฮไลท์เรื่องอะไร ก็ให้เอามาโชว์ให้หมด   อย่าให้ผู้ชมเข้ามาแล้วงงๆ ที่นี่ที่ไหน สุดท้ายก็จากไปโดยไม่คลิกอ่านสักหน้า


 ตั้งชื่อเรื่อง/บทความ ที่เขียนให้น่าสนใจ อ่านหัวข้อแล้วสะดุด จนต้องคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหานำ
 เสนอเนื้อหาที่น่าสนใจ มีประโยชน์ ทันสมัย อาจเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสนิยม  และควร Update บ่อยๆ 
เวลาเขียนบทความ ส่วนไหนที่เป็นหัวข้อหลัก หรือหัวข้อย่อย ควรเน้นใส่ตัวหนา หรือเปลี่ยนสีให้ชัดเจน   หรือจะเขียน Overview หัวข้อไว้ก่อนที่จะเข้าส่วนเนื้อหาก็ได้ จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพรวม และจับประเด็นของเนื้อหาได้ดี


ในการเขียนบทความ ไม่ควรพิมพ์ข้อความยาวติดเป็นพืด ควรเว้นวรรค และเคาะบรรทัดบ้าง   มีการขึ้นย่อหน้าใหม่เวลาเปลี่ยนเรื่อง   หรืออาจนำเสนอเนื้อหาโดยแบ่งเป็นข้อๆ ก็ได้ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น

 ถ้าเนื้อหาที่จะเขียนยาวมาก ควรแบ่งเขียนเป็นตอนๆ จะทำให้คนอ่านไม่ล้า  โดยปกติคนส่วนใหญ่จะไม่นิยมอ่านเรื่องอะไรที่ยาวมากๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรอกค่ะ    อย่างผู้เขียนเวลาอ่านบทความที่ยาวมากๆ มักจะเลิกอ่านกลางคัน  แต่ถ้ามีการแบ่งเป็นตอนๆ กลับอ่านได้จนจบ  เป็นเรื่องของจิตวิทยาอย่างหนึ่ง


ใส่ภาพประกอบลงไปในบทความด้วย จะทำให้บทความนั้นน่าสนใจขึ้น ดูแล้วไม่เบื่อ โดยเฉพาะบทความที่สอนการใช้งานโปรแกรม, การติดตั้งโปรแกรม  ถ้ามีภาพประกอบจะช่วยให้เข้าใจง่าย ไม่ต้องเขียนคำบรรยายประกอบจนเยิ่นเย้อ ต้องขยัน Capture รูปหน่อย

การอ้างถึงบทความก่อนให้ใส่ลิงค์เอาไว้ให้ด้วย คนอ่านจะได้คลิกอ่านได้เลยไม่ต้องไปค้นหาเอง เช่น ผู้เขียนเคยเขียนเรื่อง “Blog คืออะไร” เอาไว้   ต่อมาเขียนเรื่อง “การสร้าง Blog ด้วย WordPress” ก็จะทำลิงค์ไว้ตรงคำว่า Blog ให้เชื่อมไปหน้าบทความ Blog คืออะไร เป็นต้น


 ติดตั้ง Plugin ที่ทำ Related Posts ไว้ด้วย   บางครั้งคนอ่านมาเจอเว็บเราจากการค้นหาในเว็บ Search Engine ก็จะเข้ามาที่หน้าบทความหน้าใดหน้าหนึ่ง พออ่านเสร็จก็มักจะออกไปเลย แต่ถ้าได้เห็นลิงค์ของเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เกิน 50% ต้องคลิกอ่านต่อแน่นอนค่ะ

 
ในหน้าบทความ ควรมีลิงค์สำหรับคลิกให้อ่านหน้าก่อนหน้านี้ และหน้าถัดไป  ผู้ชมจะคลิกหรือไม่คลิก ก็แล้วแต่ค่ะ อย่างน้อยเราได้เพิ่มโอกาสให้ผู้ชมได้รู้จัก Blog เรามากขึ้นในบทความอื่นๆ


ติดตั้ง Plugin ที่แสดงเรื่อง/บทความ ที่มีคนอ่านมากที่สุด (Most Viewed) หรือแนะนำให้อ่าน (Recommended) ก็เหมือนกับร้านหนังสือที่มีการ show หนังสือที่ติดอันดับขายดีไว้หน้าร้านแหละค่ะ เห็นคนอ่านเยอะๆ ก็ต้องคลิกเข้าไปอ่านดูบ้าง เรื่องของจิตวิทยาอีกแล้ว


ควรมีหน้า Site map หรือแผงผังเว็บไซต์ ที่แสดงเนื้อหาทั้งหมดของ Blog   หน้านี้จะเหมือนกับหน้าสารบัญในหนังสือ เวลาเราจะซื้อหนังสือก็มักจะดูจากสารบัญ ว่ามีเรื่องที่เราสนใจอยากอ่านหรือเปล่า Blog ของเราควรมีหน้านี้เหมือนกันค่ะ


อย่ายัดเยียดโฆษณาให้ผู้อ่านมากเกินไป จนน่ารำคาญ


ถ้ามีคนมาเขียน Comment ถามอะไร เจ้าของ Blog ก็ควรตอบกลับด้วย แสดงว่าเราน่ะเป็นมิตร แล้วยังจะได้เพื่อนเพิ่มด้วย




วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ร้องให้เรียบร้อย จากนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มเล่านิทานหน้าชั้นเรียน  นิทานจะมีเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีกไป นิทานเล่าไปพับไป นิทานเล่าโดยการใช้เชือก โดยทั้งหมดมี 18 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1    นิทานเรื่องช้างใจดี (เล่าไปฉีกไป)

กลุ่มที่ 2    นิทานเรื่องเจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 3    นิทานเรื่องกระต่ายเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 4    นิทานเรื่องโจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 5    นิทานเรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)

กลุ่มที่ 6    นิทานเรื่องกบน้อยแสนซน (เล่าไปฉีกไป)

กลุ่มที่ 7    นิทานเรื่องเจ้างูน้อยกับเถาวัลย์ (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 8    นิทานเรื่องต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 9    นิทานเรื่องวันหยุดของน้องเบส (เล่าไปตัดไป)

กลุ่มที่ 10  นิทานเรื่องดาวเคราะห์ของยาย (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 11  นิทานเรื่องตุ๊งแช่จอมซ่า (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 12  นิทานเรื่องน้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 13  นิทานเรื่องแพวิเศษ (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 14  นิทานเรื่องความสุขของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 15  นิทานเรื่องยักษ์สองตน (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 16  นิทานเรื่องพระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)

กลุ่มที่ 17  นิทานเรื่องพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 18  นิทานเรื่องครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)

สรุป 
นิทานแต่ละเรื่องที่เรานำมาก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์กับเด็กๆ แต่ควรเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับวัย และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


 กลุ่มของดิฉัน  นิทานเรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)






วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน



 

นิทาน มีคุณค่าและประโยชน์คือ เป็นวิธีการให้ความรู้ที่จะทำให้เด็กสนใจเรียนรู้ สามารถจดจำและกล้าแสดงออก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กจากตัวแบบในนิทานที่เด็กประทับใจ สร้างสมาธิ ทำให้เด็กมีจินตนาการ ผ่อนคลายอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้เล่าและผู้ฟัง

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

 สัปดาห์ที่ 13


อาจารย์แจกแผ่นประดิษฐ์อักษรสำเร็จและสีไม้ คนละ 1 กล่อง

 อาจารย์สรุป เรื่องของภาษา เริ่มจากการสังเกตของเด็ก การสัมภาษณ์เด็ก และการวิเคราะห์ทาง
ภาษา (ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร)
 สื่อที่ใช้ : ส่งเสริมทางภาษา ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย

การส่งเสริมทางภาษามี 4 ด้านคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
 ฟัง เทปอัดเสียงนิทาน เสียงเพลง

พูด หุ่นมือ (เด็กพูดกับหุ่นมือ)

อ่าน หนังสือนิทาน 

เขียน กระดาษใส่กล่อง หรือกระดานขนาดเล็ก

 มุมประสบการณ์ทางภาษา เช่น รูปภาพ นิทาน บัตรคำ
 มุมประสบการณ์ทางภาษาต้องการความเงียบสงบ ดังนั้นมุมที่ไม่ควรอยู่ใกล้ คือ มุมบล็อก
 บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน 6 กิจกรรม มีดังนี้

 การทักทายคุณครู ก่อนเข้าโรงเรียน

   เซ็นชื่อ/ลงชื่อ
กิจกรรมหน้าเสาธง(สวดมนต์ไหว้พระ)
เข้าห้องทำกิจกรรม
 วันจันทร์ กิจกรรมเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
 วันอังคาร กิจกรรมของรัก-ของหวง
 วันพุธ กิจกรรมโฆษณา
วันพฤหัสบดี กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 
วันศุกร์ เล่าข่าว(สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเช้า)
   กิจกรรมการเคลื่อนไหว ร้องเพลง/ทำท่าประกอบ


กิจกรรมศิลปะ วาดภาพแทนคำพูด

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (ขั้นนำ/ขั้นสอน/ขั้นสรุป) ร้องเพลง/นิทาน/ประสบการณ์เดิม/เกม/คำ คล้อง จอง/การใช้คำถาม/ปริศนาคำทาย
กิจกรรมกลางแจ้ง กติกา/ข้อตกลงต่างๆ
กิจกรรมเกมการศึกษา จิ๊กซอ/โดมิโน/จับคู่/เรียงลำดับเหตุการณ์/ล็อตโต/ความสัมพันธ์สองแกน/อนุกรม
กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น แต่งคำขวัญ

นิทรรศการเตรืยมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน

โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ

คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
ร่วมฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี


ประโยชน์ที่ได้รับ ในการเข้าร่วมนิทรรศการเตรียมความพร้อมบูรณาการปฐมวัยสู่อาเซียน ได้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีวัฒนธรรม ด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิก และยังเป็นการเตรียมพร้อมในการที่จะเปิดประชาคมอาเซียน วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน คือ  1. แพทย์ 2. ทันตแพทย์ 3. นักบัญชี 4. วิศวกร 5. พยาบาล 6. สถาปนิก 7. นักสำรวจ









ความเป็นมาของอาเซียน


สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

( Association of South East Asia Nations)
   จุดเริ่มต้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ " ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และ ไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ประเทศบรูไนดารุซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นเทศที่หก ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อม ภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธ ทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม
 
อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
  3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
            3) เกาหลีใต้
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
            4) ออสเตรเลีย
            5) นิวซีแลนด์
             6) อินเดีย

สัญลักษณ์อาเซียน


   คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน


 สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง  
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
 สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
 สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

คำขวัญ
    "One Vision, One Identity, One Community"
    (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)